วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555


ครูหวังเต๊ะ

 ศิลปินแห่งชาติสิ้นแล้ว ด้วยโรคมะเร็งตับ

หวังเต๊ะ มีชื่อจริงคือ หวังดี นิมา เกิดเดือนมีนาคม พ.ศ. 2468 ที่จังหวัดปทุมธานี เป็นชาวมุสลิม เป็นศิลปินเพลงพื้นบ้านที่มีความเชี่ยวชาญเพลงลำตัดเป็นพิเศษ ได้ตั้งคณะลำตัดชื่อ “คณะหวังเต๊ะ” รับงานแสดงมานานกว่า 40 ปี จนชื่อ หวังเต๊ะ กลายเป็นสัญลักษณ์ของลำตัด เป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์และสืบทอดการแสดงพื้นบ้านได้อย่างน่าภาคภูมิใจยิ่ง ท่านมีความสามารถมีปฏิภาณไหวพริบ มีคารมคมคาย สามารถด้นกลอนสดและแต่งคำร้องได้อย่างยอดเยี่ยมโดยจะเน้นในด้านสุนทรียภาพ ความไพเราะงดงามทางภาษา ท่านใช้ความสามารถและศิลปะการแสดงประกอบสัมมาชีพอย่างซื่อสัตย์มาโดยตลอด ท่านมีความมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์ ถ่ายทอด เผยแพร่ศิลปะการแสดงลำตัดแก่อนุชนรุ่นหลัง เพื่อเป็นการสืบสานมรดกไทยไว้เป็นเอกลักษณ์ของชาติสืบไป หวังเต๊ะได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน) ประจำปี 2531

ในบั้นปลายชีวิต ได้ป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จนกระทั่งถึงวันที่ 26 มิถุนายนพ.ศ. 2555 ก็ถึงแก่กรรม สิริอายุได้ 87 ปี



รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อเวลา 03.00 น.ที่ผ่านมา นายหวังดี นิมา หรือ “หวังเต๊ะ” ศิลปินแห่งชาติผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการร้องเพลงลำตัด เสียชีวิตแล้ว ด้วยวัย 87 ปี หลังจากเข้ารับการรักษาตัวด้วยอาการป่วยโรคมะเร็งตับ ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โดยทางญาติเตรียมนำร่างไปประกอบพิธีทางศาสนาที่มัสยิดนิ๊มาติ๊น อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี โดยจะมีพิธีฝังศพ ในเวลา 15.00 น.

หวังเต๊ะ เกิดเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2468 ได้ตั้งคณะลำตัดชื่อ “คณะหวังเต๊ะ” รับงานแสดงมานานกว่า 40 ปี จนชื่อ หวังเต๊ะ กลายเป็นสัญลักษณ์ของลำตัด เป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์และสืบทอดการแสดงพื้นบ้าน โด่งดังมีชื่อเสียงจนกระทั่งคนทั่วไปนับถือว่า

“หวังเต๊ะ” เป็นสัญลักษณ์ของเพลงลำตัดประเทศไทย และได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน) ประจำปี 2531



“หวังเต๊ะ” วัย87ปี ลำตัดชื่อดัง ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง ประเภทเพลงพื้นบ้าน เสียชีวิตแล้ว วันนี้ (26 มิ.ย.) เมื่อเวลา 03.00 น. ด้วยโรคมะเร็งตับ ญาติเตรียมนำไปบำเพ็ญพิธีทางศาสนาอิสลามที่มัสยิดเนี๊ยะมาติ้ลและ จังหวัดปทุมธานี

นายหวังดี นิมา หรือ หวังเต๊ะ อายุ 84 ปี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง เพลงพื้นบ้าน ประจำปี พุทธศักราช 2531 เสียชีวิตแล้ว วันนี้ (26 มิ.ย.) เมื่อเวลา 03.00 น. หลังเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ด้วยโรงมะเร็งตับ ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค.2554 โดยบุตรชาย เปิดเผยว่าจะนำศพออกจากโรงพยาบาลไปประกอบพิธีทางศาสนาอิสลาม ที่มัสยิดเนี๊ยะมาติ้ลและ หมู่ 3 ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี โดยจะมีพิธีฝังศพ ในเวลา 15.00 น.

ทั้งนี้ นายหวังดี นิมา หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนาม หวังเต๊ะ เกิดเมื่อเดือนมีนาคม พุทธศักราช 2468 ที่จังหวัดปทุมธานี หวังเต๊ะ เป็นศิลปินผู้มีความสามารถเป็นเลิศด้านศิลปะเพลงพื้นบ้านมีความชำนาญเป็นพิเศษในการแสดงลำตัด โดยตั้งคณะชื่อลำตัดหวังเต๊ะรับงานแสดงเป็นอาชีพมาจนถึงปัจจุบันกว่า 40 ปี ซึ่งหวังเต๊ะ เป็นศิลปินตัวอย่างของผู้สร้างสรรค์และสืบทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้านคนสำคัญ และเป็นศิลปินที่มีความสามารถรอบตัว สามารถด้นกลอนสดและแต่งคำร้องได้อย่างคมคาย เหมาะสมกับลีลาและสถานการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน 


ขวัญจิต ศรีประจันต์


แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ มีนามจริงว่า นางเกลียว เสร็จกิจ เกิดเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๙๐ ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผู้ที่มีความสนใจทางด้านการร้องเพลงพื้นบ้านมาตั้งแต่ปี ๒๕๐๕ ขณะที่อายุประมาณ ๑๕ ปี โดยมีความชื่นชม และเฝ้าติดตามการขับร้องเพลงของแม่บัวผัน จันทร์ศรี (ศิลปินแห่งชาติ) และ ครูไสว วงษ์งาม อย่างใกล้ชิดและในที่สุดก็ได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อฝึกฝนการขับร้องเพลงกับครูเพลงทั้ง ๒ ท่าน ด้วยความเป็นผู้ที่มีพรสวรรค์ในทางการขับร้อง กอปรด้วยความมีไหวพริบปฏิภาณ และน้ำเสียงอันเป็นเลิศ อีกทั้งมีความมานะพยายามไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ทำให้แม่ขวัญจิตสามารถเรียนรู้วิธีการขับร้องเพลงพื้นบ้านประเภทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพลงอีแซว จากแม่บัวผัน และเพลงแนวผู้ชายจากครูไสวได้เป็นอย่างดีภายในระยะเวลาไม่นาน

แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ไม่เพียงมีความสามารถในด้านการขับร้องเพลงพื้นบ้านเท่านั้น หากท่านยังมีความสามารถในการแต่งเพลงอีแซวได้อย่างเป็นเลิศอีกด้วย เนื่องจากท่านมีความรักในด้านการอ่านหนังสือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วรรณคดีไทยเป็นพิเศษ จึงสามารถจดจำลีลาการประพันธ์และเค้าโครงเรื่องเหล่านั้นมาประพันธ์เป็นเพลงอีแซวได้อย่างไพเราะงดงาม

แม่ ขวัญจิตได้ออกตระเวนเล่นเพลงอีแซวเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และหาความรู้กับ ครูเพลงพื้นบ้านอีกหลายท่านทำให้ความสามารถของท่านพัฒนาขึ้นโดยลำดับจนเริ่ม มีชื่อเสียง จากนั้นในช่วงประมาณปี ๒๕๑๐ ก็ได้หันไปสนใจการขับร้องเพลงลูกทุ่ง โดยได้เข้าเป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งในวงดนตรีของครูจำรัส สุวคนธ์ และวงดนตรีของ ครูไวพจน์ เพชรสุพรรณ ตามลำดับจนมีชื่อเสียงโด่งดัง เพลงลูกทุ่งที่ร้องอัดแผ่นเสียงเป็นเพลงแรกคือ เพลงเบื่อสมบัติ ตามด้วยเพลงดังอื่นๆ เช่น ลาน้องไปเวียดนาม ขวัญใจคนจน แม่ครัวตัวอย่าง ฯลฯ จากนั้นก็ได้แต่งเพลงเองอันได้แก่เพลง กับข้าวเพชฌฆาต น้ำตาดอกคำใต้ สาวสุพรรณ เป็นต้น เมื่อประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงอย่างกว้างขวางแล้ว ก็ได้จัดตั้งวงดนตรีลูกทุ่งของตนเองขึ้น โดยใช้ชื่อว่าวงขวัญจิต ศรีประจันต์ ซึ่งท่านได้นำเอาระบบแสง สี เสียง อันทันสมัยน่าตื่นตาตื่นใจมาใช้ในการแสดง อีกทั้งได้ประยุกต์เพลงอีแซว มาผสมผสานเข้ากับเพลงลูกทุ่งได้อย่างกลมกลืมทำให้ได้รับความนิยมชมชอบจากผู้ ชมเป็นอย่างยิ่ง

แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ได้ใช้ชีวิตอยู่ในวงการเพลงลูกทุ่งจนกระทั่งถึงปี ๒๕๑๖ จึงได้ยุบวงแล้วหันกลับไปฟื้นฟูเพลงอีกแซวอีกครั้ง โดยในการกลับมาครั้งนั้น ท่านได้ตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่ศิลปะพื้นบ้านแขนงนี้อย่างจริงจัง โดยนอกจากการแสดงแล้ว ท่านยังอุทิศตนในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจ โดยได้ไปบรรยายและสาธิตการแสดงเพลงพื้นบ้านในสถานศึกษาต่างๆ ตั้งแต่ระดับโรงเรียนจนถึงมหาวิทยาลัย และยังคงปฏิบัติเช่นนี้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ผลงานการขับร้องเพลงด้านต่างๆ ของแม่ขวัญจิต ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอีกมากมาย แบ่งออกเป็นเพลงหลายประเภทดังนี้

ประเภทเพลงลูกทุ่ง ได้แก่ เพลงเศรษฐีสุพรรณ ก็นั่นนะซิ วุ้ยว้าย นางครวญ อ้อมอก เจ้าพระยา อายบาปอายบุญ ปิดทองพระ แห่ผ้าป่า แฟนหนังเร่ เสียงครวญจากชาวประชา ชวนน้องกลับอีสาน กับข้าวเพชฌฆาต ฯลฯ

ประเภทเพลงพื้นบ้าน ได้แก่ เพลงชุดปัญหาหัวใจ อานิสงส์ทอดกฐิน ประเพณีไทย น้ำตาหมอนวด ประวัติเมืองสุพรรณ อีแซวประยุกต์ พระมาลัยโปรดนรก พระคุณพ่อแม่ อานิสงส์บรรพชา ประเพณีแต่งงาน เต้นกำรำเคียวเกี่ยวมดตะนอย ฯลฯ

ประเภทเพลงแหล่ ได้แก่ แหล่มัทรีเดินดง แหล่ประวัตินาค แหล่กัญหาชาลี แหล่ทำขวัญนาค แหล่ถาม-ตอบพิธีแต่งขันหมาก แหล่ถาม-ตอบเรื่องการแต่งาน ฯลฯ

จากความสามารถและความทุ่มเททั้งกายและใจในวิชาชีพ ทำให้แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ได้รับรางวัลและเกียรติคุณต่างๆ หลายประการ ได้แก่

- ได้รับการคัดเลือกเป็นสื่อพื้นบ้านดีเด่น ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคกลางและสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพย์ติด เมื่อปี ๒๕๓๓

- ได้รับพระราชทานโล่เชิดชูเกียรติ ศิลปินเพลงลูกทุ่งดีเด่น จากงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยภาค ๒ ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อ ปี ๒๕๓๔

- ได้รับโล่เกียรติคุณ ในฐานะนักร้องลูกทุ่งดีเด่น ของจังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ ปี ๒๕๓๖ เป็นต้น

นอกจากจะเป็นศิลปินเพลงพื้นบ้านและเพลงลูกทุ่งที่มีความสามารถสูงยิ่งแล้ว แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ยังเป็นผู้ที่มีจิตใจเปี่ยมด้วยคุณธรรมอย่างน่าสรรเสริญ ตลอดชีวิตของการเป็นนักร้องเพลงพื้นบ้านและเพลงลูกทุ่ง ท่านได้อุทิศตนช่วยเหลืองานบุญงานกุศลต่างๆ มิเคยว่างเว้นทั้งงานราษฎร์ และงานหลวง อาทิ การช่วยรณรงค์เพื่อปราบปรามยาเสพย์ติด การรณรงค์ในเรื่องปัญหาโรคเอดส์ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาต่างๆ และการรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น จากผลงานและเกียรติคุณดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้ท่านเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน-อีแซว) เมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๙

จักรกฤษณ์และผมเดินทางไปยังจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นที่รวมแห่งศิลปินแห่งชาติหลายท่านอีกครั้ง เพื่อถ่ายภาพแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ หลังจากที่เคยมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปีก่อน แต่ไม่พบท่าน เพราะในครั้งนั้นผมได้นัดอาไว้ล่วงหน้า

ขณะที่ไปถึงภาพแรกที่ผมมองเห็นก็คือมีเด็กนักเรียนเล็กๆ ทั้งหญิงชายกลุ่มหนึ่งนั่งล้อมวงโดยมีแม่ขวัญจิตนั่งอยู่ตรงกลางที่ลานใต้ถุนบ้านทรงไทยเพื่อสอนการขับร้องเพลงอีแซวอย่างตั้งอกตั้งใจ เมื่อเห็นผมเดินเข้ามา แม่ขวัญจิตก็ได้อนุญาตให้ผมเดินดูบริเวณโดยรอบบ้านทั้งด้านนอกและด้านในเพื่อเลือกมุมถ่ายภาพได้ตามความพอใจ ในตอนแรก ผมได้เลือกมุมหนึ่งที่ชั้นบนของบ้านที่มีฝาไม้ประกบเป็นฉากหลังเพื่อถ่ายภาพ โดยจัดไฟที่เตรียมมาตามปกติ และได้ถ่ายภาพชุดแรกที่จุดนี้ แต่ก็ยังรู้สึกไม่ถูกใจนักกับมุมดังกล่าวเนื่องจากดูทึบทึม และไม่มีสิ่งประกอบที่น่าสนใจเท่าที่ควร ดังนั้น เมื่อเสร็จแล้วผมจึงขออนุญาตถ่ายภาพแม่ขวัญจิตอีกชุดหนึ่งในสวนอันร่มรื่นของท่าน โดยอาศัยเพียงแสงธรรมชาติเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างภาพทั้ง ๒ ชุดแล้ว ภาพในสวนดูจะให้ความรู้สึกที่สดชื่นกว่า แลดูเย็นตาและน่าสบายใจ ผมจึงตัดสินใจเลือกภาพดังกล่าวมาเป็นภาพหลักของฉบับนี้ครับ

แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ นับเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ที่มีทั้งความสามารถในด้านเพลงพื้นบ้านอย่างลึกซึ้ง และเป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยคุณธรรมผู้ได้บำเพ็ญประโยชน์เป็นอเนกประการต่อสังคม นับเป็นศิลปินที่ชาวสุพรรณบุรีภาคภูมิใจที่สุดท่านหนึ่ง

ศรคีรี ศรีประจวบ - ตำนานลูกคอ 7 ชั้น
สงอม ทองประสงค์ หรือ ศรคีรี ศรีประจวบ  เกิดวันที่ 4 มีนาคม 2487 ที่บ้านเลขที่ 13 บ้านหนองอ้อ ต. บางกระบือ อ.บางคณที จ.สมุทรสงคราม มีชื่อเล่นว่าน้อย เป็นบุตรนายมั่ง นางเชื้อ ทองประสงค์ ครอบครัวมีอาชีพทำน้ำตาลปี๊บมีพี่น้อง 6 คน เขาเป็นคนสุดท้อง เรียนจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนพรหมสวัสดิ์สาธร 

หลังจบการศึกษาก็มาช่วยครอบครัวปาดตาล (มะพร้าว) โดยระหว่างที่ พักเหนื่อยอยู่บนยอดมะพร้าวก็มักจะร้องเพลงอยู่บนนั้น จนหายเหนื่อยแล้วค่อยทำงานต่อ เพลงที่ชอบร้องก็มี "เสือสำนึกบาป" , "ชายสามโบสถ์" เพราะตอนนั้นเพลงของคำรณ สัมบุณนานนท์ กำลังฮิต ตอนนั้นเขาอยากเป็นนักร้องใจแทบขาด เวลาวงดนตรีของครู พยงค์ มุกดา มาแสดงใกล้บ้าน เขาก็ไปสมัครร้องเพลง แต่พอร้องให้ครูพยงค์ฟัง แกก็บอกว่าให้ไปหัดร้องมาใหม่ เขาพยายามอยู่ 2 ครั้ง ครูพยงค์ก็บอกว่ายังไม่ดี เขาเลยท้อและเลิกไปเอง จากนั้นพออายุ 20 ปี บวชได้พรรษาหนึ่งก็สึก ตอนนั้นพ่อแม่เขาไปซื้อไร่ทำสัปปะรดที่ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เขาก็เลย ย้ายไปที่นั่น

แต่ประวัติอีกกระแสบอก ว่า เพราะรักครั้งแรกเป็นพิษขณะที่บวช เมื่อว่าที่พ่อตาให้ลูกสาวแต่งงานกับชายอื่น เขาจึงเตลิดหนีออกจากบ้านมาอยู่กับพี่ชายที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยพี่ชายแบ่งไร่สับปะรดให้ทำ

จะอย่าง ไรก็ตาม ที่นี่ เขาได้เริ่มร้องเพลงอีกครั้ง โดยเข้าประกวดร้องเพลงตามงานวัด และคว้ารางวัลมากมาย จนเพื่อนชื่อ พยงค์ วงศ์สัมพันธ์ ชวนให้ร่วมวงที่เช่าเครื่องดนตรี และจ้างครูดนตรีจากที่ค่าย "ธนะรัชต์" มาสอน เพื่อสร้างความสนุกในหมู่บ้าน ต่อมาเมื่อคนรู้จักมากขึ้น จึงตั้งวง "รวมดาววัยรุ่น" ที่ต่อ มาเปลี่ยนชื่อเป็น "รวมดาวเมืองปราณ" รับงานแสดงทั่วไปตามบ้านที่ขายสับปะรดได้โดยไม่คิดเงินทอง ตอนนั้นศรคีรีร้องเพลงแบบรำวง และใช้ชื่อ "พนมน้อย" เพราะร้องเพลงของ พนม นพพร และศักดิ์ชาย วันชัย ต่อมาได้นำวงมาแสดงในงานปีใหม่ของจังหวัด "ประหยัด สมานมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ฟัง เสียง และเห็นหน้าก็รักใคร่ชอบพอ จึงเปลี่ยนชื่อให้เป็น ศรคีรี ศรีประจวบ

หลังจากนั้น วิจิตร ฤกษ์ศิลป์วิทยา คนอยู่ใกล้บ้านกันให้การสนับสนุนเพื่อสร้างวงดนตรีแข็งแรงขึ้นและพากันเข้า กรุงเทพฯ เพื่อเช่าเวลารายการวิทยุยานเกราะจาก จำรัส วิภาตะวัธ พวกเขาวิ่งขึ้นล่องกรุงเทพฯ - ประจวบฯอยู่บ่อยๆ และก็ได้พบกับ เพลิน พนาวัลย์ ที่พาเขาไปพบ ครูไพบูลย์ บุตรขัน ที่บ้าน ตามคำขอร้องของศรคีรี เพื่อขอเพลงมาร้อง

ภูพาน เพชรปฐมพร นักร้องที่ใกล้ชิดกับศรคีรีในวง “ รวมดาววัยรุ่น “ เล่าว่า ตอนไปขอเพลง ตอนนั้นครูมีนักร้องที่ดังมากคือ รุ่งเพชร แหลมสิงห์ เป็นลูกศิษย์เอกอยู่ ศรคีรีก็ร้องเพลงแนวเดียวกันกับรุ่งเพชร ครูไพบูลย์ก็จึงไม่ให้เพลง เขาจึงต้องเทียวไปเทียวมาอยู่หลายครั้ง จนครูใจอ่อน ประกอบกับตอนนั้นครูไพบูลย์ ผิดใจกับรุ่งเพชรด้วย

เพลงแรกที่ได้มาคือ น้ำท่วม ตอนที่บันทึกเพลงนี้ น้ำเกิดท่วม จ. ประจวบคีรีขันธ์พอดี เสียหายอย่างมาก สับปะรดถูกน้ำท่วมทั้งหมด นอกจากนั้น ครูก็ยังให้เพลงมาอีก 3 เพลง คือ"บุพเพสันนิวาส" , "แม่ค้าตาคม" , "วาสนาพี่น้อย" สำหรับการบันทึกเสียงครั้งแรกนั้น ชุดแรกมีทั้งหมด 6 เพลง คือ น้ำท่วม, บุพเพสันนิวาส, วาสนาพี่น้อย, แม่ค้าตาคม, พอหรือยัง และบางช้าง งานนี้ ศรคีรี เปลี่ยนสภาพจากนักร้องเพลง รำวง มาเป็น นักร้องเพลงหวานโดยสมบูรณ์

หลังจากเพลงเริ่มเป็นที่รู้จัก ศรคีรีลงมาอยู่กรุงเทพฯ แต่ยังไม่นำวงดนตรีมาด้วย โดยจะนำมาก็แต่เมื่อมีงาน ครั้งแรกในกรุงเทพฯ เขาเปิดการแสดงงานศพน้องชายครูไพบูลย์ที่วัด หลักสี่ บางเขน จากนั้นวงก็เริ่มรับงานในกรุงเทพฯ และเดินสายทั่วประเทศ ซึ่งในการออกเดินสายใต้เป็นครั้ง แรก วงประสบความสำเร็จอย่างงดงาม จัดว่าเป็นวงที่มีค่าตัวแพงวงหนึ่ง ช่วงนั้นศรคีรีได้มีโอกาสแสดงหนังของ ครูรังสี ทัศนพยัคฆ์ เรื่อง "มนต์รักจากใจ" ด้วย

ต่อมาศรคีรีมีชื่อเข้าไปพัวพันคดีสังหารคนในวงการด้วยกัน ชื่อเสียงจึงตกลงไปบ้าง แต่ในที่สุดก็พิสูจน์ตัวเองได้ และกลับมาอีกครั้งในเพลง "ตะวันรอนที่หนองหาร" "อยากรู้ใจเธอ" รักแล้งเดือนห้า" "ลานรักลั่นทม" และ "คิดถึงพี่ไหม" ซึ่งเพลงหลังนี้ ขณะบันทึกเสียงศรคีรีร้องโดยปิดไฟมืด ซึ่งเขาไม่เคยทำมาก่อน เพลงนี้แต่งโดย พยงค์ มุกดา โดย ทิว สุโขทัย เคยร้องไว้เป็นคนแรกและเสียชีวิตไปหลังจากที่ร้องไว้ไม่นาน และเพลงนี้ก็เป็นเพลงสุดท้ายที่ศรคีรีได้บันทึกเสียงไว้ด้วย

ก่อนเสียชีวิต ศรคีรีเคยไปทำการแสดงที่โรงหนังเอกมัยราม่า มีคนนำเอาพวงมาลัยดอกไม้สด แต่คาดด้วยผ้าดำแบบที่ทำไว้สำหรับคนตายมอบให้บนเวทีขณะร้องเพลง ศรคีรีรับไว้ด้วยความเกรงใจ เมื่อกลับเข้าหลังเวที ศรคีรีสั่งเลิกการแสดงคืนนั้นทันทีทั้งที่ร้องเพลงได้เพียง 5 เพลง

ด้วยวัยแค่ 32 ปี ศรคีรี ศรีประจวบ จากโลกนี้ไปเมื่อ 30 มกราคม 2515 ด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ ในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน ประมาณ 03.00 - 05.00 น.บริเวณริมถนนสายเอเชีย อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร ขณะเดินทางกลับจากการแสดงที่วัดหน้าพระธาตุ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์เข้ากรุงเทพฯ เพื่อเปิดทำการแสดงที่วัดภาษี เอกมัย ในตอนค่ำ คาดว่าคนขับรถของศรคีรีเกิดง่วงนอน จึงจอดรถเก๋งโตโยต้าคราวน์ข้างทางเพื่อพักสักงีบ แต่ปรากฏว่ารถบรรทุกไม้ วิ่งมาด้วยความเร็วสูงประกอบกับบริเวณนั้นเป็นสะพานสูง เมื่อรถบรรทุกไม้วิ่งมาด้วยความเร็ว เมื่อถึงสะพานก็ทำให้รถกระโดดเสียหลัก ขึ้นไปทับรถของศรคีรี ทำให้เขาเสียชีวิตคาที่

หลังแสดงวันนั้น ลูกวงได้ออกเดินทางมายังจุดนัดพบที่ปั้มน้ำมันแห่งหนึ่งก่อน แต่หลังจากที่ลูกวงรออยู่นาน หัวหน้าวงยังเดินทางมาไม่ถึง จึงออกเดินทางต่อ แต่วิ่งไปสักระยะหนึ่ง ก็มีรถพลเมืองดีวิ่งไล่ตามและเรียกให้จอด เพื่อแจ้งข่าวเรื่องการประสบอุบัติเหตุของรถของศรคีรี หลังพบใบปลิวการแสดงปลิวออกจากรถศรคีรีเกลื่อนกลาด หลังรถบัสวิ่งกลับไปก็พบศพดังกล่าว ข้อมูลบางแหล่งบอกว่า ศรคีรี เสียชีวิตประ มาณ 8.00 น.ซึ่งเวลาดังกล่าวน่าจะเป็นเวลาพบศพมากกว่า

ก่อนเสียชีวิต ศรคีรี สมรสแล้ว โดยมีบุตรธิดารวม 3 คน เป็นชาย 2 หญิง 1 ชื่อ สมศักดิ์ ,ชนัญญา และสันติ

ครูไพบูลย์ บุตรขัน เคยเขียนไว้อาลัยการจากไปของศรคีรีว่า "แด่สุดรัก เธอเกิดมาเป็นผู้กล่อมโลก ฉันเป็นผู้ถ่ายทอดอารมณ์ บัดนี้เธอจากโลกไปแล้วเหลือเพียงเสียงเพลง ศรคีรี ศรีประจวบ ฉันเสียดาย เสียดายจริงๆ เพราะเธอควรจะอยู่กล่อมโลกให้นานกว่านี้ "

เพลง ที่เอามาให้ฟังวันนี้มีชื่อว่า " พอหรือยัง" ประพันธ์คำร้อง ทำนองโดยครูชลธี ธารทอง คนเมืองชลเช่นเดียวกับผม ที่ต่อมาได้รับสมญาว่า " เทวดาเพลง" เพราะในยุครุ่งเรือง ไม่ว่าแต่งเพลงอะไร ดังเกือบทั้งหมด สำหรับเพลงนี้ มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจมาก แทบจะนำไปสร้างเป็นนิยายชั้นดีได้เลยทีเดียว เพราะมีทั้งการชิงรักหักสวาท โชคชะตาชีวิต การคดโกง การหักหลังเพื่อน แต่สุดท้ายก็จบลงแบบ แฮปปี้เอนดิ้ง

ชลธี ธารทอง เข้าสู่วงการลูกทุ่งเพราะร้องเพลงเพราะ และชอบร้องเพลง ไปๆมาๆเขาก็ได้มาเป็นนักร้องประจำวง" รวมดาวกระจาย " ของครูสำเนียง ม่วงทอง (ผู้ประพันธ์เพลง " แอบรักแอบคิดถึง" ที่ต่าย อรทัย นำกลับมาร้องใหม่และกำลังดังอยู่ในปัจจุบัน) ชลธี ธารทองมีโอกาสบันทึกแผ่นเสียงอยู่ 4 เพลง แต่ไม่ดังสักเพลง แต่ระหว่างที่เป็นนักร้องอยู่นั้น เขาก็หัดการแต่งเพลงไปด้วย โดยสอบถามเอากับหัวหน้าวงอย่างครูสำเนียง

ระหว่างที่อยู่กับวง ชลธี ธารทอง ไปปักใจสมัครรักใคร่กับนักร้องสาวร่วมวงอีกคน ซึ่งเมื่ออยู่ต่อหน้าเขา เธอก็ดูเหมือนว่าจะมีใจให้กับเขาเช่นกัน ทำให้หนุ่มชลธีดีอกดีใจอยู่ไม่น้อย แต่หลังจากที่พบความจริงว่า จริงๆแล้วเธอหลอกเขา เพราะเธอแอบไปควงกับนักร้องในวงอีกคน ชลธีเสียใจอย่างมาก และแอบไปนั่งร่ำสุราบานเคล้าน้ำตา พร้อมกับแต่งเพลงขึ้นมาเพลงหนึ่งที่พูดถึงความเจ็บช้ำในครั้งนี้ ซึ่งเพลงนั้นก็คือเพลง "พอหรือยัง"ชลธี ธารทอง


เมื่อ แต่งเสร็จ และเหล้าหมด เขาก็กลับเข้าห้องพักในโรงแรม และได้ร้องเพลงนี้ระบายความเสียใจ เสียงเพลงของเขาก็ไปแทงใจสาวเจ้าที่พักอยู่ในห้องข้าง เธอจึงนำเรื่องไปฟ้องครูสำเนียงเรื่องที่ชลธี ธารทอง แต่งเพลงด่าทอเธอ แต่ก็ไม่เป็นผลแต่อย่างใด

ต่อมา นักร้องร่วมวงอีกคนหนึ่งเกิดมาได้ยินชลธี ธารทอง นำเพลงนี้มาร้องเล่นในยามว่าง จึงขอเพลงนี้เพื่อนำมาร้องที่หน้าเวที ซึ่งเขาก็อนุญาต และเพื่อนคนนี้ก็เคยได้รับรางวัลจากแฟนเพลงที่มาชมการแสดงจากการขับร้องเพลง " พอหรือยัง " ด้วย

ต่อมา นักร้องคนดังกล่าวออกไปอยู่กับวงดนตรีของศรคีรี ศรีประจวบ และเมื่อศรคีรี ซึ่งกำลังจะเริ่มดัง จากการปลุกปั้นของครูไพบูลย์ บุตรขัน ได้ฟังเพลงนี้ ก็เกิดชอบใจอยากจะนำมาร้องบันทึกเสียงบ้าง เมื่อสอบถามว่าเป็นผลงานการแต่ง ของใคร นักร้องคนดังกล่าวก็โกหกว่าเขาเป็นคนแต่งเอง

ศรคีรี ศรีประจวบ นำเพลงนี้มาบันทึกแผ่นเสียง โดยใช้ชื่อตัวเองว่าเป็นคนแต่ง เนื่องจากมีคนแนะนำว่า เขาน่าจะสร้างเครดิตให้กับตัวเอง เพราะตัวคนแต่งจริง (ซึ่งก็คือเจ้านักร้องคนนั้น) ไม่ได้มีชื่อเสียงอะไร และก็ไม่น่าจะมีชื่อเสียงอะไรอีกในอนาคต

แต่หลังจากที่เพลงนี้ดังขึ้น ชลธีก็จึงได้รู้ว่าเพลงของเขาถูกขโมย และไปร้องเรียนเอากับศรคีรี หลังจากที่เรียกเอาฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาสอบถาม เขาก็จึงได้รู้ความจริง จึงมีการขอโทษขอโพย และตอบแทนกันตามธรรมเนียม ซึ่งต่อมา ชลธีและศรคีรี ก็กลายเป็นเพื่อนซี้กันในที่สุด

นี่คือเพลงๆแรกของชลธี ธารทอง ที่ถูกนำไปบันทึกเสียง แต่มันก็ทำให้เขาต้องเริ่มกลับมานั่งคิดว่า จริงๆแล้ว เขาเหมาะสมกับงานไหนแน่ ระหว่างนักร้อง ที่พยายามมาหลายปี แต่กลับไม่ดัง กับนักแต่งเพลงที่ถูกนำไปบันทึกเสียงครั้งแรกและดังทันที

แต่ ถึงเพลงนี้จะดัง ชีวิตของชลธี กลับไม่ได้ดีขึ้น เพราะต้องไม่ลืมว่า บนแผ่นเสียงระบุว่าเพลงนี้เป็นผลงานการแต่งของศรคีรี และบางคนก็พาลคิดไปว่า มันเป็นผลงานของครูไพบูลย์ บุตรขัน ครูเพลงคู่บุญของศรคีรี เครดิตของเขาจึงไม่มี เพลงก็ขายไม่ค่อยได้ เป็นนักร้องก็ไม่ดัง แต่ขณะที่ชีวิตกำลังตกอับอย่างสุดๆอยู่นั้น เขาก็ได้เจอกับศรคีรีอีกครั้ง และศรคีรี ออกปากให้เขาแต่งเพลงมาให้อีก

หลังจากที่ชลธีบรรจงแต่งให้ สองเพลง และหวังเต็มที่ที่จะได้รับค่าแต่งเพลงก้อนงามๆอีกสักครั้ง แต่ยังไม่ทันที่จะนำไปเพลงไปเสนอ เขาก็ได้รับข่าวเศร้านั่นก็คือศรคีรี ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เสียชีวิต ชลธีที่ผิดหวังกับชีวิตในวงการเพลงของเขามาก ตัดสินใจทันทีว่าจะกลับไปใช้ชีวิตเป็นชาวไร่ชาวนาที่บ้านนอก จึงนำ 2 เพลงนี้ไปให้กับเด็กที่ทำงานอยู่ปั้มน้ำมันคนหนึ่งและอยากเป็นนักร้องแบบไม่ คิดค่าเพลง
สองเพลงนี้คือเพลง " ลูกสาวผู้การ " และ" แหม่มปลาร้า " และเจ้าหนุ่มคนนั้น ต่อมามีชื่อเสียงระเบิดระเบ้อทั่วฟ้าเมืองไทย ทุกคนรู้จักเขาในชื่อ " สายัณห์ สัญญา "